ประวัติการทำเครื่องเงินในเชียงใหม่
การทำเครื่องเงินของเชียงใหม่นั้น ปรากฏหลักฐานตั้งแต่พญามังราย สร้างเมืองเชียงใหม่ในปีพ.ศ1839
และได้สร้างความสัมพันธ์กับพุกามเจรจาขอช่างฝีมืออันได้แก่ช่างทองช่างฆ้องช่างต้องช่างแต้มช่างเหล็กช่าง
เงินช่างเขินฯลฯมายังเชียงใหม่เพื่อฝึกเป็นอาชีพเสริมให้กับประชาชนดังปรากฎหลักฐานจากตำนาน
ราชวงศาเมืองเชียงใหม่...ดังเจ้าอังวะพุกามนั้นก็เสงป่อง(ปรึกษาหารือ)โฟจา(เจรจา)กันแล...
ดันเสงป่องกันแล้ว ยังช่างหล่อ ช่างตี ช่างฆ้องผู้ทรงสราด(ฉลาด)ทั้งหลายนา ก็เลือกเองผู้อันช่างหล่อ
ช่างตีตังกลายช่างตีฆ้อง 2 หัว ทั้งลูกสิกลูกน้องทั้งมวล 500 ทั้งเครื่องพร้อม จักยื่นถวายท้าวล้านนา.....
ซึ่งทำให้เมืองเชียงใหม่มีช่างหัตถกรรมพื้นบ้านที่ได้รับการฝึกฝน และมีการทำสืบเนื่องตลอดมา
แม้ว่าไม่ปรากฏหลักฐานว่าช่างเหล่านั้นมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ได้ก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามในระยะต่อมา
นโยบายเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมืองของพระเจ้ากาวิละ ภายหลังจากที่ขับไล่พม่าออกจากเมือง
เชียงใหม่ ในช่วงปี พ.ศ. 2310 โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นผู้ทรง
ช่วยเหลือในการทำสงครามขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่แล้วนั้น เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองร้าง
ร่วม 20 ปี (พ.ศ 2319-2339)เนื่องจากผู้คนหนีภัยสงครามไปอาศัยอยู่ในป่าในเขาพระเจ้ากาวิละ
ต้องส่งทหารไปป่าวร้องให้ประชาชนกลับเข้ามาอยู่ในเมืองแต่ก็น้อยเต็มทน ดังนั้นจึงได้มีคำสั่งให้
เจ้านายราชสกุลลื้อ เมืองเขินเมืองเชียงตุงเมืองยองให้มาตั้งรกรากในเมืองเชียงใหม่
ซึ่งปรากฏหลักฐาน คือชื่อเมืองในปัจจุบันตามท้องที่ที่ในเขตอำเภอ สันทราย อำเภอดอยสะเก็ด
อำเภอสันกำแพงอำเภอสารภี อำเภอเมือง อำเภอหางดง ได้แก่ เมืองเล็น เมืองวะ เมืองพอน
เมืองพยาก เมืองโก เมืองลวง เมืองดอน เมืองหลวย เชียงแสน เชียงขาง เมืองสาด เมืองกาย
เมืองลัง บ้านวัวลาย บ้านสะต๋อย ทุ่งอ้อตองกาย
ในการกวาดต้อนผู้ตนเข้ามาอยู่ในเชียงใหม่นั้นได้ทำเป็นระยะๆอย่างมีเป้าหมาย
กล่าวคือผู้ที่ถูกกวาดต้อน มานั้นจะมี่ทั้งหมอโหรา สล่า (ช่างฝีมือ) ไม่ว่าจะเป็น
ช่างทอง ช่างต้อง ช่างแต้ม ช่างเหล็ก ช่างเงิน
ช่างฆ้อง ช่างกลอง ฯลฯ เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในเมืองเชียงใหม่
เพื่อฝึกเป็นอาชีพให้กับประชาชนและ
จัดทำส่งคุ้มหลวงบริเวณที่จัดให้ช่างฝีมืออยู่นั้นคือ บริเวณระหว่างกำแพงชั้นนอกกับกำแพงชั้นใน
ปัจจุบันยังมีบ้านช่างเหล็ก ช่างฆ้อง ช่างเงิน ฯลฯ รายรอบตั้งแต่บริเวณแจ่งศรีภูมิถึงแจ่งกู่เฮือง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเครื่องเงินบ้านวัวลายนั้น ช่างผู้ตีขันเงินและสลักลวดลายบนขันเงินนั้นเป็น
ช่างคุ้มหลวงเมืองเชียงใหม่ในอดีตและได้นำมาถ่ายทอดอย่างต่อเนื่องให้ลูกหลานจนสามารถเป็น
ช่างฝีมือจนเป็นที่ยอมรับและได้ขยายแหล่งผลิตเครื่องเงินไปยังหมู่บ้านอื่นเช่น บ้านหารแก้ว
อำเภอหางดง บ้านแม่หย้อยอำเภอสันทรายเป็นต้น ซึ่งได้พัฒนารูปแบบลวดลายไปมากมายโดย
เฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันเครื่องเงินได้พัฒนาไปมากรวมทั้งลวดลายก็ได้พัฒนาสู่วิถีชีวิตที่หลากหลายมาก
ขึ้นเช่นกัน
|