|
เงินโบราณล้านนา
เงินตราใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนโดยตรงระหว่างวัตถุกับวัตถุโดยการแลกเปลี่ยนนี้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แต่ เมื่อการแลกเปลี่ยนโดยตรงนั้นไม่สะดวกผู้คนจึงหันมาแลกเปลี่ยนของกับตัวกลางในการแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเงินตรา ในเวลาต่อมาน้ำหนักและมูลค่าของเงินตรา โดยปกติแล้วใช้โลหะมีค่าทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ ทองแดง เงิน และทองคำ โลหะที่หา ได้ง่ายที่สุดคือโลหะทองแดง รองลงมาคือโลหะเงิน และโลหะที่มีน้อยที่สุดคือโลหะทองคำ ทำให้โลหะเงินมีค่าอยู่ระหว่างตรงกลาง ระหว่างโลหะทั้งสองชนิด ดังนั้นโลหะเงินจึงมีความเหมาะสมมากที่สุดในการนำมาใช้ และยอมรับกันอย่างกว้างขวางในการใช้ก้อน โลหะเงินเพื่อชำระหนี้ เสียภาษี และเสียค่าปรับนั่นเอง ทำจากวัสดุเงินนิยมใช้กันในอาณาจักรล้านนามีระยะเวลาการผลิตนรูปแบบเดียวกันเพื่อใช้แทนเงินตรานานนับศตวรรษเป็นเงินตราที่มี การใช้อยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย หรืออาณาจักรล้านนาเดิม โดยมีอาณาเขตไปจนถึง พม่า ลาวโดยมีแร่ของเงินอยู่ประมาณ 85 - 90% ของน้ำหนักเงินทั้งหมด มีการทำเครื่องหมายบ่งบอกต้นกำเนิดของเงินแต่ละตัว โดยการทำเครื่องหมาย เช่นคำว่า แสน น่าน หลวง ซอย ญวน และสบฝาง เป็นต้น ซึ่งจากการพบเครื่องหมายต่าง ๆ ที่ติดอยู่ข้างตัวเงิน สันนิษฐานว่ามีอยู่มากกว่า 10 เมืองที่ได้มีการจัดทำ และซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราประเภทนี้อยู่ อายุไม่เกิน 400 ปี ขึ้นอยู่กับตราที่ติดอยู่ข้างตัวเงินเจียง ตราในเงินเจียง เงินเจียงถูกทำขึ้นโดยมีน้ำหนักมาตรฐานเท่ากับ 4 บาทของไทยสุโขทัย ขาทั้งสองข้างตอกตราของผู้มีอำนาจในการผลิตเงินตราที่ขาทั้ง สองข้าง ตราชื่อเมือง ส่วนตราสุดท้ายเป็นตราบอกพิกัดราคาของเงินเจียง อักษรชื่อเมืองที่ใช้ตอกประทับตราในยุคแรก ๆ ใช้อักษร ไทยสุโขทัย ต่อมาภายหลังจึงได้เปลี่ยนเป็นอักษรฝักขาม แต่เดิมอาณาจักรล้านนามีเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองประมาณ 50 เมือง แต่ละเมืองผลิตเงินเจียงออกใช้ได้ตามพิกัดและรูปร่างของล้านนา โดยประทับตราเมืองแต่ละเมืองไว้ที่ขาทั้งสองข้าง โดยบางเมือง อาจใช้ตราสัญลักษณ์แบบเดียวกัน ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าอาจปกครองโดยบุคคลที่เป็นเครือญาติกัน เงินเจียงที่มีการถูกพบมากที่สุดคือ เงินเจียงที่ประทับตราเมือง เชียงแสน และเมืองเชียงใหม่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนามาก่อน ตราประทับตรงกลาง คือตราประทับบอกว่าเงินนี้มาจากเมืองที่มีชื่อเมืองต่าง ๆ กัน เช่น แสน คือเชียงแสน, ชม คือเชียงใหม่, น่าน, ญวน, หลวง น่าจะเป็น หลวงพระบาง การตรวจสอบเงินเจียง เนื่องจากในปัจจุบันเงินเจียงล้านนาถือได้ว่าเป็นของเก่าหายาก ซึ่งมูลค่าของเงินเจียงในตลาดค้าของเก่ามีค่าสูงกว่าราคาเนื้อเงิน มากทายหลายเท่า จึงได้มีการทำปลอมขึ้นเพื่อจุดประสงค์เพื่อการหลอกขายให้แก่นักสะสมในปัจจุบัน โดยการหล่อขึ้นจากวัสด ุเงินบริสุทธิ์ หรืออาจใช้เงินรูปีจำนวนหลายเหรียญ ชั่งให้มีน้ำหนักเท่ากับเงินเจียงหนึ่งตัวคือ 4 บาท มาหลอมรวมกันแล้วหล่อ ขึ้นมาใหม่ เป็นเงินเจียงและตอกตราที่ทำเลียนแบบขึ้น ตอกลงบนขาทั้งสองข้าง ( ได้เคยมีการตรวจสอบโดยผู้เขียน ถึงเปอร์เซ็นต์เนื้อเงิน ของเงินเจียง และเงินรูปี ปรากฏว่ามีความใกล้เคียงกัน คือปริมาณเนื้อเงิน 90 เปอร์เซ็นต์ ) การตรวจสอบเงินเจียงปลอม สามารถทำได้หลายวิธี โดยวิธีที่ใช้เป็นวิธีพื้นฐานในการตรวจสอบได้แก่ ตรวจสอบน้ำหนัก และขนาด ซึ่งไม่จำเป็นต้องช้ความ ชำนาญพิเศษมากนัก ลำดับต่อมา คือการตรวจสอบโดย การสังเกตการตอกตราเมือง และตราจักร ซึ่งของปลอมยังไม่สามารถ ทำเลียนแบบได้ โดยไม่มีข้อแตกต่าง เนื่องจากปริมาณเงินของแท้ในตลาดมีจำนวนน้อย ทำให้วิวัฒนาการในการทำของปลอม จึงเป็นไปอย่างช้า ๆผู้ที่สามารถตรวจสอบได้ต้องมีความรู้ความชำนาญพอสมควรที่จะสามารถเปรียบเทียบได้ว่าตัวไหนคือของจริง และตัวไหนคือของเลียนแบบ วิธีที่ดีที่สุดคือการเทียบเคียงจากของแท้ การตัดและบาก เป็นกรรมวิธีการแสดงถึงความเป็นเงินเจียงแท้ในสมัยโบราณเนื่องจากการตัดหรือการบากเป็นการทำเพื่อให้ทราบถึงวัสดุภายในของ เงินเจียงว่าไม่ได้มีการเคลือบด้วยเงินแต่เพียงด้านนอกเท่านั้น โดยการตัดหรือบากนั้นจะทำขึ้นต่อจากตอกตราที่ขาของเงินเจียง ในทันที โดยการตอกเพื่อแสดงวัสดุภายในนี้ ผู้เขียนได้ใช้ประโยชน์จากการกระทำนี้เพื่อตรวจสอบความแท้ของเงินเจียงได้ อย่างไม่ยากนัก เนื่องจากเงินเจียงที่ถูกหล่อขึ้นมาในปัจจุบัน ส่วนของรอยตัดและบาก แทนที่จะใช้การตัดและบาก เงินที่ทำเลียนแบบได้ทำรอยบากไว้ก่อนที่จะหล่อเงินเจียงขึ้นมา จึงเป็นการทำรอยตัดและบากที่ผิดวัตถุประสงค์ รอยบากสำหรับเงินเจียงเลียนแบบไม่มีความคม และความเป็นธรรมชาติ การบากรอยในสมัยก่อนใช้วัสดุที่มีความคมมาก ๆ การบากตรงกลาง และบริเวณด้านข้างของขาเงินเจียงใช้การบากลงบนโลหะด้วยความแรงเพียงหนึ่งครั้ง ส่วนการตัดบาก ด้านใต้อาจใช้การบากครั้งเดียว หรือหลายก็ได้ แต่มีจุดสังเกตจากรอยเส้นใยที่แสดงไว้บริเวณผิวด้านใต้ ซึ่งในแต่ละเมือง ก็มีความแตกต่างกันไปตามสิ่งที่นำมาใช้ และวิธีการตัดบาก เงินเจียงที่มีขนาดเพียงครึ่งหนึ่ง ในบางครั้งเราจะสามารถพบเห็นเงินเจียงที่มีขนาดเพียงครึ่งหนึ่ง หรือมีเพียง 1 ขา นั่นหมายความว่า ผู้ที่ใช้เงินชิ้นนั้นต้องการ ชำระเงินเพียงครึ่งของตำลึง หรือ 2 บาทเท่านั้น โดยน้ำหนัก โดยประมาณเท่ากับ 29 - 32 กรัม ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งานของ เงินตราชิ้นนั้น ๆ ด้วย หรือในบางครั้งอาจพบเห็นเงินเจียงที่มีขนาดเท่ากับ 1/4 ของ 1 ตำลึง นั่นหมายความว่ามีความต้องการ ชำระเงินเพียง 1 บาทเท่านั้น เงินเจียงโดยใช้วัสดุอื่น เงินเจียงเก่าที่ถูกหล่อขึ้นจากวัสดุอื่น ๆ ไม่ว่าจะหล่อจากดินเผา ตะกั่ว โดยไม่ได้มีการเคลือบผืวนอกด้วยเงิน มีจุดประสงค์การ ทำที่แตกต่างกันไป โดยอาจนำไปใช้เป็นเงินก้นถุงแก่คู่บ่าวสาวที่แต่งงาน หรือนำไปเซ่นผีบริเวณภาคเหนือของไทย ในสมัยล้านนา โดยชาวบ้านบางคนได้นำเอาเงินเจียงที่ทำพิธีแล้วไปฝังไว้บริเวณใจกลางของกำแพงบ้าน และกำแพงเมืองเพื่อป้องกันอันตราย จากภูตผีทั้งหลาย เงินเจียงที่ถูกสร้างขึ้นโดยใช้วัสดุอื่นที่ไม่ใช่เงิน ซึ่งมีขนาดเท่ากันกับเงินเจียงทั่วไป แต่มีน้ำหนักน้อยกว่า ผิวนอก จะถูกตกแต่งเป็นลวดลาย แทนที่ชื่อเมืองและตราประทับ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นเงินขวัญถุงหรือใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ เช่นการป้องกันผี วิญญาณ ตามความเชื่อของคนในสมัยโบราณ เงินเจียงตัวนี้มีขนาดเล็กกว่า เงินเจียงโดยทั่วไป ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมเช่นกัน เงินปลอม นับตั้งแต่การทำเงินตราขึ้นมาเพื่อใช้หนี้ เงินปลอมก็เริ่มถูกผลิตขึ้นมาเช่นกัน ทำให้เงินตราเข้าไปปะปนกับเงินตราของจริงของ ทางรัฐบาล และยังก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจในเงินของรัฐบาลเกิดขึ้นอีกด้วยการปลอมเงินสามารถทำได้หลายวิธี ตั้งแต่การทำ ปลอมขึ้นมาใหม่ให้มีความเหมือนกับของจริงมากที่สุด โดยทั่วไปในสมัยโบราณเงินปลอมจะถูกทำขึ้นจากวัสดุที่มีความด้อยค่า กว่าวัสดุที่นำมาใช้ทำเงินที่เป็นโลหะที่มีราคาสูงกว่า โดยอาจใช้วิธีการเคลือบผิวด้วยวัสดุเงิน แต่ภายในเป็นดีบุก ทองแดง หรือตะกั่ว บทลงโทษซึ่งได้ถูกจารึกไว้ใน “ มังรายศาสตร์ ” สำหรับผู้ทำเงินปลอมนั้น ได้ระบุไว้ดังนี้
ปลอมแปลงเงินดำปลอมออกใช้ โทษควรถึงตาย หากไม่ฆ่าให้ตาย ก็ให้ริบทรัพย์สมบัติเข้าพระคลัง ผิได้เงินปลอมทองให้ ช่างเงินช่างทอง ผู้มีความรู้ตรวจดู ผิได้เงินปลอมเท่าใด ให้นายตรามาหล่อดู ไม่ต้องไหมมันแต่ให้เอาคำขันมัน หากได้เงินปลอม จากมันถึงสองครั้ง ให้ถือว่ามันปลอมแปลงเงินและทอง ควรฆ่าเสียแล้วเกาะกุมเอาครัวเข้าพระคลัง ผิใส่ความว่าท่านรู้ ขวักเหล็กตรา ปลอมแปลงเงินและทอง ให้พิจารณาดู ให้ไหมผู้ใส่ความเท่ากับราคาทรัพย์สมบัติของผู้ถูกใส่ความ
Source : ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือ “ เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงก์ ” โดย นวรัตน์ เลขะกุล พิมพ์ครั้งที่ 3 ปีพ . ศ . 2547
|